กระชายดำ |
กระชายดำ (Kaempferia Pafiflora)
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia Pafiflora
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
กระชายดำ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน รากสะสมอาหารมีลักษณะเป็นปุ่ม ๆ ไม่ยาวเป็นหางไหลเหมือนกับกระชายธรรมดา ขณะต้นเล็ก จะมีแต่รากและรากนั้นเองจะเปลี่ยนเป็นหัวเมื่อโตขึ้น เนื้อในหัวอาจเป็นสีม่วงหม่น หรือสีดำดังผลลูกหว้าขึ้นอยู่กับดินที่ใช้ แต่ถือกันว่ากระชายดำที่มีคุณสมบัติที่ดีต้องสีดำสนิทใบ: เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับคล้ายกระชายธรรมดา แต่มีใบใหญ่และเขียวเข้มกว่า ผลิแทงม้วนเป็นกรวยขึ้นมาจากรากไม่มีต้น
ดอก: จะออกดอกจากยอดของต้น ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ริมปากดอกสีขาว เส้นเกสรสีม่วง และเกสรมีสีเหลือง
การขยายพันธุ์ : ใช้วิธีการแบ่งเหง้า ฤดูกาลขยายพันธุ์ ทำได้ทั้งปี แต่ถ้าต้องการผลิตหัวให้มีคุณภาพ ต้องปลูกขยายพันธุ์ตามฤดูกาล ช่วงประมาณ เดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม และ ช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณ เดือน ธันวาคม ถึง มกราคม กระชายดำ ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น
กระชายดำ
กระชายดำ หรือ โสมไทย เป็นพืชสมุนไพรที่มีการตื่นตัวในเรื่องการบริโภคมาก ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากว่ามีสรรพคุณที่เชื่อกันว่าเป็นยาสมุนไพรอายุวัฒนะชั้นหนึ่งของไทย มาแต่โบราณกาลและสามารถเพิ่มพลังทางเพศให้กับผู้รับประทานได้ซึ่งชายไทยที่ เคยบริโภคต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "เด็ดจริงๆ" กระชายดำ ยังเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญประจำเผ่าม้งและมักพกติดตัวไว้ในย่ามแทบทุกคน เพื่อใช้กินแก้ปวดเมื่อย เหนื่อยหอบ หืดหอบ ที่สำคัญเชื่อว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้เป็นอย่างดี และถือว่าเป็นความลับประจำเผ่ามาหลายร้อยปี
ประวัติ :
การปลูกกระชายดำที่จังหวัดเลยนั้น สายพันธุ์ ต้นกำเนิดมาจาก ชาวเขาเผ่าม้ง ที่มาตั้ง ถิ่นฐาน ตรงบริเวณรอยต่อ ระหว่าง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก - อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย และรอยต่อกับ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สมุนไพรกระชายดำ นี้ ชาวเขาเผ่าม้งหวงแหนมาก เพราะตระหนักดีในเรื่องของสรรพคุณ เพื่อไม่ให้กระชายดำแพร่พันธุ์มาก เวลานำมาขายให้คนไทยพื้นราบ จะนำไปนึ่งให้หัวกระชายดำตายเสียก่อน เมื่อนำมาปลูก จึงไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ต่อมา คนไทยพื้นราบ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ติดต่อค้าขายกับชาวเขาเผ่าม้ง จึงได้แอบนำติดตัวและมาปลูกขยายพันธุ์ ปัจจุบัน ที่อำเภอนาแห้วเป็นแหล่งปลูกกระชายดำ แหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ
สรรพคุณ:
ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นระบบประสาท แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาสมดุลความดันโลหิต ขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเก๊าต์ โรคกระเพาะอาหาร รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดสมดุลย์ โรคบิด โรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด โรคหัวใจ สำหรับสุภาพสตรีทานแล้ว จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนทางเพศ ทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่องสดใส แก้อาการตกขาว ประจำเดือนมาไม่ปกติ
"กระชายดำ" เพราะว่ามีสรรพคุณขึ้นชื่อลือชาในเรื่องเพิ่มพลังทางเพศ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "โสมไทย" ซึ่งที่จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดมักนิยมแนะนำให้เกษตรกรเพาะปลูกเพราะเป็นพืชที่มีอนาคต และราคาดี
ข้อมูลทั่วไป
"กระชายดำ" มีลักษณะเหง้าหรือหัวคล้ายกับกระชายธรรมดาที่ใช้ปรุงอาหารอยู่ในครัวเรือน แต่ไม่มีรากขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "นิ้ว" เหมือนกระชายทั่วๆ ไป และเมื่อพิจารณาลักษณะใบจะพบว่า ใบของกระชายดำจะใหญ่และมีสีเขียวเข้มกว่า กาบใบมีสีแดงจางและหนาอวบ กระชายดำมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia Pandurata (Roxb.)
อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE ลักษณะแตกต่างที่เด่นชัดกับกระชายธรรมดาก็คือ เนื้อในของหัวกระชายดำจะมีสีคล้ายดั่งผลหว้า คือมีสีออกม่วงอ่อน ๆ ไปจนถึงสีม่วงเข้มถึงดำ จึงได้ชื่อว่า "กระชายดำ" กระชายดำเป็นพืชล้มลุกจัดเป็นว่านชนิดหนึ่ง ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็นแก่นแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม ใบมีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน ออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบกว้างประมาณ 7-15 ซม. ยาว 30-35 ซม. ลักษณะใบและลำต้นเหมือนกระชายเหลืองและกระชายแดง แต่ขอบใบและก้านใบของกระชายดำอาจมีสีม่วงแกมเล็กน้อย ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ดอกมีสีชมพูอ่อน ๆ ริมปากดอกมีสีขาว กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันมีลักษณะเป็นรูปท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอกอับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตรเกลี้ยงไม่มีขน การขยายพันธุ์การปลูกกระชายดำก็เหมือนกับการปลูกกระชายธรรมดาโดยทั่วไป สามารถปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำดี แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วมขังเพราะจะทำให้หัวหรือเหง้าเน่าเสียได้ง่ายส่วนใน ดินเหนียวและดินลูกรังไม่ค่อยจะเหมาะสมนัก โดยธรรมชาติแล้วกระชายดำชอบขึ้นตามร่มไม้ในป่าดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป แต่ในที่โล่งแจ้งก็สามารถปลูกกระชายดำได้ผลดี
สมุนไพรกระชายดำ มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ขิงทราย (มหาสารคาม), กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง (ภาคเหนือ) เป็นต้น
คุณสมบัติ
กระชายดำ เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาสูงจัดได้ว่า เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้คึกคักกระชุ่มกระชวย ช่วยสร้างความสมดุย์ของความดันโลหิตให้ไหลเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่องสดใสและแก้โรคบิดแก้ปวดท้องเป็นต้น สำหรับสุภาพสตรีช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวลแก้ตกขาว ขยายหลอดเลือดขจัดไขมันในหลอดเลือดโรคกระเพาะ ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน,โรคหัวใจ อื่น ๆ
สรรพคุณ
- บำรุงฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ชายเหนือชาย
- กระตุ้นประสาท ทำให้กระชุ่มกระชวย
- บำรุงกำลัง
- เป็นยาอายุวัฒนะ ชลอความแก่
- ขับลม ขับปัสสาวะ
- แก้โรคกระเพาะอาหาร
- แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
- บำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
วิธีใช้
ใช้รากเหง้า (หัวสด) ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี.
ผู้ที่ดื่มสุราไม่ได้ ให้ฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำร้อนดื่มทุกวัน หรือจะดองกับน้ำผึ้งก็ได้
ปริมาณการผสม
หัวสด ใช้ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด
หัวแห้ง บดเป็นผงละเอียด ผสม น้ำผึ้ง พริกไทยป่น กระเทียมผง บอระเพ็ดผง ในอัตราส่วน 10 : 5 : 2 : 1 : 0.5 หรือดองกับสุราขาว ในอัตราส่วน 30 กรัม ต่อสุราขาว 1ขวด หรือใช้หัวสดหรือหัวแห้งก็ได้ ดองกับน้ำผึ้ง ในอัตราส่วน 1:1 ทานทุกวัน บำรุงกำลังดีนักแล
ประโยชน์
กระตุ้นประสาททำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงกำลัง ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เพิ่มฮอร์โมนทำให้สมรรถภาพทาง เพศเพิ่มขึ้น แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ รักษาโรคความดันโลหิตสูง ขยายหลอดเลือดหัวใจ
ส่วนประกอบ : กระชายดำแท้ 100%
วิธีใช้ : กระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.)
ขนาดรับประทาน : รับประทานได้ตามต้องการ
ข้อแนะนำ : หากต้องการรสชาติที่ดีขึ้น สามารถแต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้งตามชอบใจ
ขนาดบรรจุ : บรรจุ 20 ซอง ๆ ละ 500 มก. น้ำหนักสุทธิ 10 กรัม
ด้วยสรรพคุณเหล่านี้ชาวเขาจึงปลูกกันมาแต่โบราณกาล ขณะที่ชาวพื้นราบเพิ่งตื่นเต้น กับกระแสสมุนไพรไทยไม่กี่ปีมานี้เอง โดยเฉพาะบรรดาคุณผู้ชายที่เริ่มรู้ตัวว่าอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ไม่ซู่ซ่าส์เหมือนสมัยหนุ่ม ๆ พอรู้ว่ากินแล้วเพิ่มพลังอย่างว่าเลยขวนขวายหาซื้อกันใหญ่ เนื่องจาก ราคาไม่แพงมีเงินเป็นร้อยก็หาซื้อได้ ทำให้ตลาดกระชายดำมาแรงเพราะจะไปหาซื้อไวอะกร้าก็คง สู้ราคาไม่ไหว อย่างไรก็ตามถ้าไปถามนักวิชาการ ยังไม่กล้ายืนยันเรื่องสรรพคุณทางเพศเพียงแต่ บอกเป็นนัย ๆ ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้กระชุ่มกระชวยและบำรุงกำลัง
การปลูกกระชายดำ
ฤดูปลูก
ปลูกได้ทั้งปี แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสมอยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
การเตรียมหัวกระชายดำสำหรับปลูก
หัวกระชายดำหัวหนึ่งจะมีหลายแง่ง ให้บิ(หัก)ออกมาเป็นแง่ง ๆ ถ้าแง่งเล็กก็ 2-3 แง่ง ถ้า แง่งใหญ่สมบูรณ์ก็แค่แง่งเดียวก็พอ เพราะเมื่อกระชายดำโตขึ้น กระชายดำก็จะแตกหน่อ และเกิดหัวกระชายดำหัวใหม่ขึ้นมาแทน และจะขยายหัวและหน่อออกไปเรื่อยๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ส่วนหัวหรือแง่งที่ใช้ปลูกในตอนแรกจะเหี่ยวและแห้งไปในที่สุด ก่อนนำไปปลูก ควรทารอยแผลของแง่งกระชายดำที่ถูกหักออกมาด้วยปูนกินหมาก หรือจะจุ่มในน้ำยากันเชื้อราก็ได้ แล้วผึ่งในที่ร่มจนหมาดหรือแห้ง แล้วจึงนำไปปลูก(น้ำยากันเชื้อรามีจำหน่ายตามร้านเคมีภัณฑ์การเกษตรทั่วไป ขวดเล็กๆราคาไม่ถึงร้อยบาทก็มี)
การปลูกลงในกระถาง
ควรใช้กระถางที่มีขนาดกลาง -ใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-18 นิ้ว เพื่อให้มีพื้นที่ในการขยายหัวหรือเหง้า ใส่วัสดุปลูกให้มากๆ ประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของกระถาง (ปุ๋ยคอก 1 ส่วน/ดิน 2 ส่วน) จะทำให้ได้หัวที่มีคุณภาพและมีปริมาณหัวต่อต้นมาก การปลูกในกระถางควรใช้หัวหรือเหง้า ประมาณ 3-5 หัว (แง่ง) แล้วแต่ขนาดของกระถาง
การปลูกลงแปลง
ต้องเตรียมแปลงปลูก โดยการพรวนดินตากแดดทิ้งไว้นาน 5-7 วัน เพื่อปรับสภาพดิน ยกร่องกว้างประมาณ 1.50 เมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 10 - 15 ซม.ใส่ปุ๋ยคอกให้พอเหมาะ แล้วทำการปลูก ระยะห่างระหว่างหลุมและแถวประมาณ 30 X 30 ซม. ใส่หัวหรือเหง้า 2-3 หัว (แง่ง) ต่อหลุม แล้วกลบหลุมรดน้ำให้ชุ่ม
การปลูกในไร่ (กรณีปลูกปริมาณมาก ๆ)
การเตรียมดิน
ควรไถ 2 ครั้ง ครั้งแรกไถพรวนเพื่อย่อยดิน ทำการยกร่องปลูก ระหว่างต้นประมาณ 25-30 ซม. ก่อนปลูกควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 200 - 400 กก./ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน โดยฝังเง้าหรือหัวพันธุ์ลงในหลุมปลูกลึก ประมาณ 5-10 ซม.ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ 160-200 กก.
การดูแลรักษา
เมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 1 เดือน ควรดายหญ้ากำจัดวัชพืชพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1,000 กก./ไร่ (ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพราะจะทำให้หน่อกระชายดำที่เกิดใหม่ยาว และสีของหัวกระชายดำไม่ดำ ทำให้คุณภาพเปลี่ยนไป) และเมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 2 เดือน ให้พรวนดินกลบโคนต้นควรมีการปลูกซ่อมในหลุมที่ไม่งอก
การเก็บเกี่ยว
เมื่อกระชายดำอายุได้ 10-12 เดือน สังเกตจากใบและลำต้นจะเริ่มเหี่ยวแห้งและหลุดออกจากต้น ระยะนี้ คือ ระยะพักตัวของกระชายดำเพราะจะทำให้กระชายดำมีโอกาส ได้สะสมอาหารและตัวยาได้เข้มข้นอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะขยายพันธุ์ต่อไป จึงเป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้ดี ทำให้ได้กระชายดำที่มีคุณภาพดี กระชายดำที่ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอนาแห้ว - อำเภอภูเรือ จะได้รับผลผลิตประมาณ 650-900 กก./ไร่
การเก็บรักษาพันธุ์
กระชายดำที่แก่จัดจะมีอายุประมาณ 11-12 เดือน หัวจะต้องสมบูรณ์ อวบใหญ่ปราศจากเชื้อโรค เก็บไว้ในที่แห้งและเย็นนาน ประมาณ 1-3 เดือน จึงจะนำไปปลูกต่อได้
การแปรรูป
ในปัจจุบันนอกจากใช้กระชายดำเพื่อประกอบเป็นตัวยาโดยตรงแล้ว ยังนำไปบดเป็นผง บรรจุซองชงน้ำร้อนดื่มบำรุงสุขภาพ ใช้ดองดื่มเพื่อให้เกิด ความกระชุ่มกระชวย ทำลูกอมและที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ทำ ไวน์กระชายดำ
ขั้นตอนล้างทำความสะอาด
ขั้นตอนการหั่นเป็นแว่น
ขั้นตอนหลังจากอบแห้งแล้ว
ขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์
กระชายดำแบบหัวสด
การรับประทาน : ใช้รากเหง้า(หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี. ผู้ที่ดื่มสุราไม่ได้ ให้ฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำร้อนดื่มทุกวัน หรือจะดองกับน้ำผึ้งก็ได้ ในอัตราส่วน 1:1
กระชายดำหัวแห้ง
กรรมวิธีการผลิต:
การทำกระชายดำแบบฝานเป็นแว่นอบแห้ง ก็โดยการนำหัวสดของกระชายดำไปล้าง ทำความสะอาด นำมาฝานเป็นแว่น แล้วนำเข้าตู้อบ อบให้แห้งที่อุณหภูมิสูง จนแห้งได้ ที่แล้ว จึงนำมา เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ซึ่งวิธีการนี้ จะช่วยให้เก็บรักษากระชายดำได้นาน
การรับประทาน:
หากไม่ใช่คอเหล้าที่มักนิยมนำไปดอง กับเหล้าขาวก็มักหั่นเป็น ชิ้น นำไปตากแห้งแล้วมาต้มกับน้ำรับประทาน บางตำราบอกให้นำหัวกระชายดำหั่นตากแห้งสด ไปดองกับน้ำผึ้งแท้ 7 วันนำมาดื่มก่อนนอน อาจจะนำมาปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้
รายละเอียดวิธีใช้:
หัวแห้ง ประมาณ 15 กรัม (1 กล่อง) ดองกับเหล้าขาว 1 แบน ผสมน้ำผึ้งเพื่อรสชาดที่ดีขึ้นได้ตามชอบใจ ดื่มก่อนนอนวันละ 30 ซีซี. ( 1 เป็ก)
หัวแห้ง ดองกับน้ำผึ้งแท้ในอัตราส่วน 1:1
หัวแห้ง บดเป็นผงละเอียด ผสม น้ำผึ้ง พริกไทยป่น กระเทียมผง บอระเพ็ดผง ในอัตราส่วน 10 : 5 : 2 : 1 : 0.5
กระชายดำแบบชาชง
กรรมวิธีการผลิต:
นำหัวกระชายดำที่ฝานเป็นแว่น อบให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วจึงบรรจุซอง กระชายดำแบบชาชง จะไม่มีส่วนผสมอื่นอีก จะมีแต่กระชายดำแท้ 100% เท่านั้น
วิธีใช้:
กระชายดำ 1 ซอง ชงน้ำร้อน 1แก้ว (ประมาณ 120 ซีซี.)
ข้อแนะนำ:
หากต้องการรสชาติที่ดีขึ้น สามารถแต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง ตามชอบใจ
ลูกอมกระชายดำ
ศูนย์การศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเลยร่วมกับกลุ่มโซนศรีสองรัก ได้จัดทำ ผลิตภัณฑ์ ลูกอมสมุนไพร เพื่อสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ นาแห้ว จ. เลย
ส่วนประกอบ:
1.กระชายดำ 2.นมสด 3.เนยอย่างดี 4.น้ำตาลทราย 5.แบะแซ
ไวน์กระชายดำ
ตามความหมายในภาษาอังกฤษนั้น ไวน์ (wine) หมายถึง "เหล้าองุ่น"เท่านั้น ตามกระแสนิยม สำหรับคนไทยนั้น คำว่า "ไวน์" หมายถึง ผลไม้ หรือสมุนไพรที่นำมาหมักแล้วได้แอลกอฮอล์ ไม่เกิน 15 ดีกรี ซึ่งกรรมวิธีผลิตก็ทำเช่นเดียวกับไวน์ในต่างประเทศ แต่ในกฎหมายไทยตามพระราชบัญญัติสุราฯ นั้นเรียกว่า "สุราแช่" ดังนั้น อนุโลมที่จะเรียกผลไม้หรือสมุนไพรที่นำมาหมักว่า "ไวน์" และต่อท้ายด้วยชื่อผลไม้หรือสมุนไพรที่นำมาทำเป็นวัตถุดิบนั้น เช่น ไวน์สัปปะรด ไวน์ลูกยอ ไวน์ลูกหม่อน เพราะไม่สามารถที่หาคำใดมาเรียก ได้เหมาะสม และเข้าใจได้ง่าย
ความแตกต่างระหว่างกระชายดำ (ดำแท้) กับกระชายม่วง
กระชายดำ (ดำแท้) จะมีใบเขียวเข้มกว่าและเรียวยาวกว่า ส่วนใบของกระชายม่วงนั้น (รูปขวา) จะสีเขียวอ่อนและปลายค่อนข้างมน ที่ใต้ใบและที่ขอบใบของกระชายดำ (ดำแท้) จะมีสีม่วงแกมขึ้นมามากจนสังเกตเห็นได้ชัดเจน ส่วนที่ขอบใบและใต้ใบของกระชายม่วงนั้น (รูปขวา) จะมีสีม่วงแกมเล็กน้อยหรือบางต้นอาจจะไม่มีเลยก็ได้
หัวกระชายดำ (ดำแท้) เวลาฝานออกมา เนื้อในจะมีสีม่วงคล้ำไปจนถึงสีดำสนิท หัวกระชายม่วง เมื่อฝานออกมา จะมีสีชมพูอ่อนปนน้ำตาล เมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าลักษณะภายนอกของต้น กระชาย จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าต้นใหนคือกระชายดำ (ดำแท้) และต้นใหนคือกระชายม่วง เพราะลักษณะภายนอกของต้นกระชายดำจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิ อากาศและสภาพแวดล้อม เช่น เมื่อนำหัวพันธุ์กระชายดำ (ดำแท้) ไปปลูกในที่แห่งใหม่ที่ไม่ใช่เขต อ.ภูเรือ หรือ อ.นาแห้ว จ.เลย แล้ว ที่ใต้ใบหรือที่ขอบใบของกระชายดำ อาจไม่มีสีม่วงให้เห็นเลยก็ได้ แต่ใบยังคงเป็นสีเขียวเข้มและเรียวยาวเหมือนเดิม และเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว เมื่อฝานหัวกระชายออกมาดูก็ยังเป็นกระชายดำอยู่ดี
ดังนั้นหากท่านใดอยากได้กระชายดำที่เป็นดำแท้จริงๆ ก็ควรจะหาหัวพันธุ์ที่เป็นดำแท้ไปปลูก จะทำให้มั่นใจว่าต้นกระชายที่งอกขึ้นมาใหม่นั้น เป็นกระชายดำ สายพันธุ์ดำแท้จริง ๆ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น